ภาวะความเสี่ยงบนที่สูง หรือ High Altitude Sickness หรือ AMS มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 2,500-3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยิ่งขึ้นไปที่สูงมากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากออกซิเจนในอากาศเบาบาง
อาการแต่ละคนจะแตกต่างกันไม่ขึ้นกับเพศ วัย ความฟิตของร่างกาย นักกีฬาที่แข็งแรงอาจเกิดอาการได้ ขณะที่ผู้สูงอายุบางคนก็อาจจะไม่มีอาการเลย
In This Post
อาการภาวะความเสี่ยงบนที่สูง
- Acute Mountain Sickness (AMS) จะมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ นอนไม่หลับ เหนื่อย หายใจเร็ว
- High Altitude Cerebral Edema (HACE) หรือภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง จะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีชัก หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้
- High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) คือภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อยู่เฉยๆก็เหนื่อย ภาวะนี้ทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันภาวะความเสี่ยงบนที่สูง
- ควรกำหนดให้มีวันพักเพื่อปรับร่ากาย ให้คุ้นเคยกับความสูงทุก 500 เมตร
- ดื่มน้ำสม่ำเสมอ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย น้ำร้อน ชาขิง ชาเลมอน ซึ่งมีให้บริการตามทีเฮ้าส์ ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนและมีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นกัน
- งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการออกแรงหนักๆ พยายามเดินช้า ไม่หักโหม เร่งรีบ
- ทานอาหารให้เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
- เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจแบบพกพา (Finger Oximetre) เป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบสภาพร่างกายระหว่างการเดินเขา สะดวกในการใช้งาน เพียงแค่สวมเข้าที่ปลายนิ้ว เครื่องก็จะแสดงอัตราออกซิเจนในเลือด (spO2) และอัตราการเต้นของหัวใจ(PR) หากค่าออกซิเจนในเลือดต่ำมาก และค่าอัตราการเต้นของหัวใจสูงเกินไป ก็ควรพิจารณาตัวเองว่าควรจะเดินขึ้นเขาต่อไปหรือไม่ เพราะอาจจะเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
- อย่าฝืนหากพบว่าร่างกายเริ่มอาการผิดปกติ เพราะการเดินทางต่อไปยิ่งทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น รีบพาตัวเองลงมายังที่ต่ำกว่าโดยทันที
ที่มา :
Leave a Reply